การเมืองภาคประชาชน
การเมืองภาคประชาชน
คงเหลือ | รอคิว | รอ/วัน |
---|---|---|
1/1 | 0 | 0 |
- ประเภท : อีบุ๊ก
- สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
- Author : อุเชนทร์ เชียงเสน
- ISBN :9789740216308
- ภาษา : thai
- จำนวนหน้า : 378
- ขนาดไฟล์ : 5.45 MB
การเมืองภาคประชาชน
ประวัติศาสตร์ความคิดและปฏิบัติการของนักต่อสู้ทางการเมือง นับจากยุคประชาธิปไตยครึ่งใบจนถึงปรากฏการณ์สนธิ
ผู้เขียน อุเชนทร์ เชียงเสน
ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 สถานการณ์บ้านเมืองของไทยนับแต่อดีตตราบจนปัจจุบันยังคงอยู่ในสภาวะลุ่ม ๆ ดอน ๆ ซึ่งโดยมากมักผันแปรไปตามผู้มีอำนาจในแต่ละยุคสมัย..
"อุเชนทร์ เชียงเสน" นักวิชาการหนุ่มผู้คร่ำหวอดอยู่กับการขบวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมืองในแง่มุมต่าง ๆ จึงใช้โอกาสดังกล่าวสรรค์สร้างและเรียนรู้พัฒนาการทางการเมืองของไทยผ่านงานวิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนจะต่อยอดเป็นหนังสือ การเมืองภาคประชาชน ด้วยการนำเสนอรากเหง้าของปัญหาบ้านเมืองภายหลังเหตุการณ์ทางการเมือง เชื่อมโยงไปยังจุดเริ่มต้นของวาทกรรม "การเมืองภาคประชาชน" อันหมายถึงกระบวนการของประชาชนที่ตรวจสอบ ถ่วงดุล และคัดค้านแนวนโยบายของรัฐที่มีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ นับแต่การรณรงค์ให้โหวตรับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุดฉบับหนึ่ง การรวมตัวของขบวนการ "สมัชชาคนจน" เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่คนยากไร้ รวมถึงการถือกำเนิดของ "คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย" ที่เริ่มมีบทบาทเทียบเคียงเวทีการเมืองมากขึ้นตามลำดับ โดยกลุ่มองค์กรที่ได้ยกตัวอย่างดังกล่าว ไม่ว่าจะมีฐานมวลชนเป็นของตัวเองหรือเปล่า ล้วนกำเนิดจากรากเหง้าทางความคิดเกี่ยวกับ "การเมืองภาคประชาชน" แทบทั้งสิ้น และจุดหักเหสำคัญของขบวนการภาคประชาชนในช่วงเวลาต่อมาก็คือ การถือกำเนิดของ "พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ซึ่งมีเป้าประสงค์เพื่อขับไล่ "ระบอบทักษิณ"
เมื่อเรื่องราวดำเนินมาถึงตรงจุดนี้ย่อมสังเกตได้ชัดเจนว่า การต่อสู้เรียกร้องในฐานะ "การเมืองภาคประชาชน" เริ่มจะแตกต่างจากในอดีตอย่างไร ใช้รูปแบบการต่อสู้อย่างสันติอหิงหาเหมือนในอดีตหรือไม่ เชิดชูการกระจายอำนาจตามปณิธานประชาธิปไตยหรือเปล่า ใครคือผู้กำหนดกลเกมการเรียกร้อง จนถึงคำถามสำคัญก็คือ จริงหรือไม่ที่การต่อสู้กับระบอบทักษิณคือการเมืองภาคประชาชนตามเจตนารมณ์เดิม..
สารบัญ
1. ความคิด: ความรู้ และการศึกษาการเมืองภาคประชาชน
2. หลังการเมืองแบบฝ่ายซ้าย-พคท. (2524-2534) : การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและความคิดของนักศึกษา-ปัญญาชนกลุม่ต่าง ๆ ยุคหลังฝ่ายซ้าย-พคท.
3. การเมืองไทยหลังพฤษภา 35 และเครือข่ายนักกิจกรรม ทางการเมือง การเมืองแบบเลือกตั้ง ประชาสังคมกับ "การเมืองบนท้องถนน"
4. ยุทธศาสตร์การเมืองไทยกับการสถาปนา "การเมืองภาคประชาชน"
5. รัฐธรรมนูญ "ฉบับประชาชน" และการทำให้ "การเมืองภาคประชาชน" เป็นสถาบัน
6. การเมืองภาคประชาชน ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- สรุป การเปลี่ยนย้ายความคิด และการปรากฏตัวของการเมืองภาคประชาชน