คงเหลือ รอคิว รอ/วัน
1/1 0 0
  • ประเภท : อีบุ๊ก
  • สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • Author : ธนา ขอเจริญพร
  • ISBN :9786163146847
  • ภาษา : ไทย
  • จำนวนหน้า : 378
  • ขนาดไฟล์ : 8.27 MB
ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาการติดเชื้อเอชไอวีทำให้ผู้ติดเชื้อมีอายุยืนยาวขึ้น และมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงปกติ การติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบันจึงถือเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แม้ว่าการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีที่มีประสิทธิผลสูงจะช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน กดเชื้อเอชไอวี และลดการอักเสบเรื้อรังของร่างกาย ผู้ติดเชื้อเอชไอวียังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เมื่ออายุมากขึ้น เช่นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น มากกว่าผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีอันเป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรังที่กระตุ้นโดยเชื้อเอชไอวีเองผลข้างเคียงระยะยาวของยาต้านเอชไอวีบางชนิด โรคติดเชื้อ และโรคร่วมอื่นๆ นอกจากนี้การต้องรับประทานยาต้านเอชไอวีอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอดชีวิตยังถือเป็นภาระหนักของ ผู้ติดเชื้อด้วย การ “ไม่ติดเชื้อเอชไอวี” ด้วยการป้องกันการติดเชื้ออย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด สารบัญ บทที่ 1 บทนำระบาดวิทยาและการแพร่เชื้อเอชไอวี บทที่ 2 การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังได้รับเชื้อ บทที่ 3 การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนได้รับเชื้อ บทที่ 4 การป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก บทที่ 5 การป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีในคู่ต่างและการจัดการการเจริญพันธุ์ บทที่ 6 กลยุทธ์การตรวจการติดเชื้อและนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่การรักษาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี บทที่ 7 การใช้ถุงยางอนามัย บทที่ 8 การตรวจคัดกรองและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี บทที่ 9 การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีวิธีอื่นๆ ที่อาจมีประสิทธิผลหรือยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการศึกษา ฯลฯ
ความก้าวหน้าทางการแพทย์ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาการติดเชื้อเอชไอวีทำให้ผู้ติดเชื้อมีอายุยืนยาวขึ้น และมีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงปกติ การติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบันจึงถือเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต แม้ว่าการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีที่มีประสิทธิผลสูงจะช่วยเพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน กดเชื้อเอชไอวี และลดการอักเสบเรื้อรังของร่างกาย ผู้ติดเชื้อเอชไอวียังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เมื่ออายุมากขึ้น เช่นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น
มากกว่าผู้ที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีอันเป็นผลมาจากการอักเสบเรื้อรังที่กระตุ้นโดยเชื้อเอชไอวีเองผลข้างเคียงระยะยาวของยาต้านเอชไอวีบางชนิด โรคติดเชื้อ และโรคร่วมอื่นๆ นอกจากนี้การต้องรับประทานยาต้านเอชไอวีอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอดชีวิตยังถือเป็นภาระหนักของ
ผู้ติดเชื้อด้วย การ “ไม่ติดเชื้อเอชไอวี” ด้วยการป้องกันการติดเชื้ออย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

สารบัญ
บทที่ 1 บทนำระบาดวิทยาและการแพร่เชื้อเอชไอวี
บทที่ 2 การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีหลังได้รับเชื้อ
บทที่ 3 การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีก่อนได้รับเชื้อ
บทที่ 4 การป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก
บทที่ 5 การป้องกันการแพร่เชื้อเอชไอวีในคู่ต่างและการจัดการการเจริญพันธุ์
บทที่ 6 กลยุทธ์การตรวจการติดเชื้อและนำผู้ติดเชื้อเข้าสู่การรักษาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
บทที่ 7 การใช้ถุงยางอนามัย
บทที่ 8 การตรวจคัดกรองและรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี
บทที่ 9 การป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีวิธีอื่นๆ ที่อาจมีประสิทธิผลหรือยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการศึกษา
ฯลฯ