คงเหลือ รอคิว รอ/วัน
0/1 0 0
  • ประเภท : อีบุ๊ก
  • สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • Author : ศุภวิทย์ ถาวรบุตร
  • ISBN :9786163144737
  • ภาษา : ไทย
  • จำนวนหน้า : 444
  • ขนาดไฟล์ : 23.33 MB
ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ในหนังสือเล่มนี้เรียบเรียงตามวิวัฒนาการของสังคมตะวันตก เนื้อหาหลักกล่าวถึงการแสวงหาความจริงในกรอบปรัชญาธรรมชาตินับตั้งแต่อารยธรรมโบราณ จุดเด่นและความก้าวหน้าของปรัชญาธรรมชาติในยุคคลาสสิก การหลอมรวมปรัชญาธรรมชาติกับศาสนาในสมัยกลางจุดเปลี่ยนในช่วงการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การแตกแขนงของความรู้ในศตวรรษที่ 18 และ 19 เทคโนโลยีกับความนึกคิดของสังคมทั้งก่อนสมัยใหม่และสมัยใหม่ไล่มาจนถึงความท้าทายในศตวรรษที่ 20 ทั้งหมดบ่งชี้ว่า วิทยาศาสตร์สัมพันธ์กับความเป็นไปในอดีต แนวคิดและคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ทุกๆ เรื่องเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพราะขึ้นกับมุมมอง คำถาม บริบท ปัจจัย และเงื่อนไขที่เป็นอยู่ ณ ขณะนั้น เมื่อมองในเชิงประวัติศาสตร์ ทั้งปรัชญาธรรมชาติและวิทยาศาสตร์จึงเป็นหลักฐานบ่งบอกสถานะของความรู้ความคิดซึ่งยึดโยงกับปัจจัย แวดล้อมในสังคมด้วย สารบัญ บทที่ 1 พื้นฐานแนวคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ บทที่ 2 สำรวจอารยธรรมตะวันตกโบราณ บทที่ 3 ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์สมัยคลาสสิก บทที่ 4 จารีตวิทยาศาสตร์ในสมัยกลาง บทที่ 5 การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ บทที่ 6 วิทยาศาสตร์กับยุคแห่งเหตุผล บทที่ 7 การแตกตัวขององค์ความรู้หลังศตวรรษที่ 17 ฯลฯ
ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ในหนังสือเล่มนี้เรียบเรียงตามวิวัฒนาการของสังคมตะวันตก เนื้อหาหลักกล่าวถึงการแสวงหาความจริงในกรอบปรัชญาธรรมชาตินับตั้งแต่อารยธรรมโบราณ จุดเด่นและความก้าวหน้าของปรัชญาธรรมชาติในยุคคลาสสิก การหลอมรวมปรัชญาธรรมชาติกับศาสนาในสมัยกลางจุดเปลี่ยนในช่วงการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การแตกแขนงของความรู้ในศตวรรษที่ 18 และ 19 เทคโนโลยีกับความนึกคิดของสังคมทั้งก่อนสมัยใหม่และสมัยใหม่ไล่มาจนถึงความท้าทายในศตวรรษที่ 20 ทั้งหมดบ่งชี้ว่า วิทยาศาสตร์สัมพันธ์กับความเป็นไปในอดีต แนวคิดและคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ทุกๆ เรื่องเกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพราะขึ้นกับมุมมอง คำถาม บริบท ปัจจัย และเงื่อนไขที่เป็นอยู่ ณ ขณะนั้น เมื่อมองในเชิงประวัติศาสตร์ ทั้งปรัชญาธรรมชาติและวิทยาศาสตร์จึงเป็นหลักฐานบ่งบอกสถานะของความรู้ความคิดซึ่งยึดโยงกับปัจจัย
แวดล้อมในสังคมด้วย
สารบัญ
บทที่ 1 พื้นฐานแนวคิดในการศึกษาประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์
บทที่ 2 สำรวจอารยธรรมตะวันตกโบราณ
บทที่ 3 ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์สมัยคลาสสิก
บทที่ 4 จารีตวิทยาศาสตร์ในสมัยกลาง
บทที่ 5 การปฏิวัติวิทยาศาสตร์
บทที่ 6 วิทยาศาสตร์กับยุคแห่งเหตุผล
บทที่ 7 การแตกตัวขององค์ความรู้หลังศตวรรษที่ 17
ฯลฯ