ศิลปะกรุงธนบุรี
ศิลปะกรุงธนบุรี
คงเหลือ | รอคิว | รอ/วัน |
---|---|---|
1/1 | 0 | 0 |
- ประเภท : อีบุ๊ก
- สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มติชน
- Author : รศ.ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร
- ISBN :9789740216759
- ภาษา : thai
- จำนวนหน้า : 210
- ขนาดไฟล์ : 27.62 MB
ศิลปะกรุงธนบุรี
ศิลปะกรุงธนบุรี คือ รูปแบบศิลปะในช่วงสมัยทางประวัติศาสตร์ที่เรียกว่า "กรุงธนบุรี" ซึ่งถูกมองข้ามแค่เพราะราชธานีแห่งนี้มีอายุขัยเพียง 15 ปี ท่ามกลางภาวะยุ่งยากหลังกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย
ผู้เขียน รศ.ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร
เหตุการณ์รัฐประหารของ "สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริยศึก" ยึดอำนาจจาก "สมเด็จพระเจ้าตากสิน" เพื่อปราดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ คือ จุดจบของศิลปะกรุงธนบุรี ย้อนเวลากลับไปก่อนหน้านั้น 15 ปี กรุงธนบุรีสถาปนาขึ้นภายใต้ภาวะสงคราม สมเด็จพระเจ้าตากสินรวบรวมบ้านเมืองและผู้คนสร้างเมืองขึ้นใหม่ในพื้นที่เมืองธนบุรี-บางกอกเดิม หลักฐานมากมายระบุว่าพื้นที่เมืองธนบุรี-บางกอก มีผู้คนอยู่อย่างหนาแน่นมาก่อนที่สมเด็จพระเจ้าตากสินจะสถาปนากรุงธนบุรี ดังปรากฏวัดต่าง ๆ ในพื้นที่ที่มีร่องรอยศิลปะสมัยอยุธยา ซึ่งวัดเหล่านี้ได้ถูกปฏิสังขรณ์อยู่เรื่อย ๆ เนื่องจากวัดเป็นพื้นที่ใช้งานของผู้คนและชุมชน จึงต้องมีการบูรณะเพื่อใช้สอยอยู่เสมอ ดังนั้น ในช่วง 15 ปีของสมัยธนบุรี การซ่อม ปรับปรุง วัด จึงน่าเป็นงานช่างสมัยธนบุรีนั่นเอง
"รศ.ดร. ประภัสสร์ ชูวิเชียร" ได้สำรวจศิลปกรรมตามวัดต่าง ๆ ในพื้นที่เมืองกรุงธนบุรี เพื่อเปรียบเทียบความเหมือน/ต่างของเจดีย์ วิหาร อุโบสถ สืบหาร่องรอยรูปแบบศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สืบสานความงามของศิลปะอยุธยา และส่งต่อให้แก่ศิลปะรัตนโกสินทร์
สารบัญ
บทนำ ราชธานีและศิลปกรรมที่ถูกลืม
- ข้อมูลเอกสารกับแนวทางศึกษาศิลปะสมัยธนบุรี
- ศิลปะสมัยธนบุรีในงานค้นคว้าที่ผ่านมา
กายภาพกรุงธนบุรี แหล่งศิลปกรรมและร่องรอยทางวัฒนธรรม
- ชุมชนเมืองสู่กรุงธนบุรี สร้างแปลงจาก "หมู่บ้าน" ให้เป็น "ราชธานี"
- กรุงธนบุรี เมืองแหล่งความหลากหลาย ทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์
ศิลปะแห่งกรุงธนบุรี เศษเสี้ยวศิลปกรรมจากอดีตอันรางเลือน
- พระราชวังกรุงธนบุรี (พระราชวังเดิม)
- วัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม)
- วัดมะกอกหรือวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม)
ฯลฯ
บทสรุปและแง่มุมที่ได้จากการสืบค้นศิลปะกรุงธนบุรี
- สืบทอดงานสมัยอยุธยา ซ่อมแซมวัดเดิม ไม่มีพระอารามหลวงสร้างใหม่
- ไม่มีพระมหาปราสาทสัญลักษณ์ราชธานี พระมหาธาตุเจดีย์แห่งกรุงธนบุรี
- ที่วัดบางหว้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม) และวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม)
ฯลฯ