20 คำถามเพื่อการบริหารผลงานองค์กรเรื่องกำไร
20 คำถามเพื่อการบริหารผลงานองค์กรเรื่องกำไร
คงเหลือ | รอคิว | รอ/วัน |
---|---|---|
1/1 | 0 | 0 |
- ประเภท : อีบุ๊ก
- สำนักพิมพ์ : SE-ED
- Author : ณรงค์วิทย์ แสนทอง
- ISBN :5524400009005
- ภาษา : thai
- จำนวนหน้า : 154
- ขนาดไฟล์ : 9.07 MB
เป็นหนังสือที่ถอดมาจากประสบการณฺ์ในการเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารผลงานเชิงกลยุทธ์ขององค์กร โดยเนื้อหาที่นำในหนังสือเล่มนี้จะประกอบด้วยคำถามหลัก 20 คำถาม พร้อมกับแนวทางในการตอบคำถาม โดยเริ่มตั้งแต่การกำหนดเป้าหมายเรื่องกำไรขององค์กร การวิเคราะห์เป้าหมาย การกำหนดกลยุทธ์ในการทำให้บรรลุเป้าหมาย การจัดทำแผนรองรับเป้าหมาย รวมไปถึงการติดตามและประเมินผลงานเรื่องกำไร เหมาะสำหรับผู้บริหารหรือทีมบริหารขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเป้าหมายองค์กรเรื่องกำไร
ข้อมูลเพิ่มเติม
ก่อนอื่นต้องขอชี้แจงกับท่านผู้อ่านก่อนนะครับว่า หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือวิชาการที่นำเสนอแนวคิด ทฤษฎี หลักการวิชาการหรือแนะนำเครื่องมือการบริหารจัดการใดๆ ทั้งสิ้น เป็นเพียงหนังสือที่ใช้เป็นสื่อ ในการถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์จากการเป็นที่ปรึกษาเรื่องการบริหารผลงานเชิงกลยุทธ์ให้ท่านผู้อ่านเท่านั้น ดังนั้น รูปแบบการนำเสนอและภาษา จึงไม่ได้ใช้ภาษาเขียนที่ถูกต้องตามหลักภาษามากนัก อาจจะมีภาษาพูดปะปนมาบ้าง หากมีข้อผิดพลาด ประการใด ผมขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียวครับขอถือโอกาสนี้ ขอบพระคุณอาจารย์ขันธฤทธิ์ ปฐมเล็กและอาจารย์บุญสิทธิ์ ฉวีวงศ์วิวัฒน์ ที่ช่วยอ่านและให้คำแนะนำเกี่ยวกับเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ด้วยนะครับ
คำนิยม
ในชีวิตการทำงานของผม ทั้งงานประจำและการเป็นที่ปรึกษาให้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะขนาดใดก็ตาม เรื่องที่มักเป็นที่พูดกันเป็นประจำ ในหมู่ของผู้บริหารก็คือ ผลการดำเนินงานของหน่วยงานเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ทั้งผู้บริหารฝ่ายขาย ฝ่ายผลิต ฝ่ายต่างๆ ทุกฝ่าย ต่างก็จะมุ่งแสดงผลงานของหน่วยงานตนเองว่าเป็นไปตามเป้าหมาย แต่น้อยมากที่ผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานจะให้ความสำคัญกับ “กำไร” ขององค์กร ทั้งที่ “กำไร” เกี่ยวข้องกับความอยู่รอดขององค์กรอย่างแท้จริง หนังสือเล่มนี้ กลั่นมาจากประสบการณ์ของท่านอาจารย์ณรงค์วิทย์ ผู้ซึ่งคร่ำหวอดอยู่ในวงการที่ปรึกษามานานกว่า 20 ปี ผ่านประสบการณ์ ในการวางระบบบริหารผลงานเชิงกลยุทธ์ ได้นำเรื่องราวที่ได้พบมาระหว่างการประชุมทีมบริหารของแต่ละองค์กรมาเล่าให้ฟังเหมือนที่เราได้นั่งอยู่ กลางวงที่ประชุมด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้อ่านวางลำดับในการตั้งคำถามที่จะช่วยกระตุ้นให้ทีมผู้บริหารเข้าใจและตระหนักถึง “กำไร” ได้อย่างแท้จริง จึงเหมาะสำหรับผู้บริหารหรือที่ปรึกษาในการนำการประชุมผู้บริหารให้หันมาใส่ใจกับ “กำไร” มากขึ้น