คงเหลือ รอคิว รอ/วัน
1/1 0 0
  • ประเภท : อีบุ๊ก
  • สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • Author : บุญช่วย สุนทรวรจิต
  • ISBN :9786163145710
  • ภาษา : ไทย
  • จำนวนหน้า : 167
  • ขนาดไฟล์ : 6.04 MB
นับแต่โบราณมามนุษย์พยายามที่จะใช้ประโยชน์จากสารประกอบที่มีในธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ โดยการเปลี่ยนสารประกอบเหล่านั้นมาเป็นวัสดุพื้นฐาน เช่น สารประกอบจากสัตว์มาทำเป็นหนัง สารประกอบจากพืชมาทำเป็นเส้นใย ในเวลาต่อมามนุษย์ค้นพบวิธีในการสร้างสารประกอบใหม่ขึ้นมาและสามารถพัฒนาไปเป็นวัสดุได้ในที่สุด การพัฒนาการผลิตและการใช้วัสดุเป็นไปอย่างรวดเร็ว จากองค์ความรู้ทางเคมีและวัสดุศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาทำให้เกิดกลุ่มวัสดุต่อไปนี้คือ โลหะ เซรามิก พอลิเมอร์ ซึ่งพอลิเมอร์เป็นกลุ่มวัสดุที่พัฒนาขึ้นมาหลังสุดแม้พอลิเมอร์จะถูกใช้มาก่อนหน้านี้แต่มนุษย์ยังไม่มีความรู้ในแง่โครงสร้างของพอลิเมอร์จึงไม่สามารถจัดจำพวกกลุ่มวัสดุพอลิเมอร์ได้ ในปัจจุบันมนุษย์ได้ใช้วัสดุที่เตรียมมาจากพอลิเมอร์สังเคราะห์แทนวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ไม้ เซลลูโลส หนังและ/หรือขนสัตว์ในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งใช้ร่วมในการรักษาความผิดปกติและความเจ็บป่วยด้วย ในการพัฒนาพอลิเมอร์เพื่อการใช้งานทางดดานการแพทยนั้นจำเป็นจะต้องพิจารณาสมบัติของตัววัสดุในหลายๆ ด้านเนื่องจากระบบต่างๆ ในร่างกายสิ่งมีชีวิตมีความซับซ้อน และมีกลไกต่อต้านสิ่งแปลกปลอมภายนอกที่เข้าไปจึงจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยที่ซับซ้อนเหล่านี้ได้ กลายเป็นที่มาของแนวคิดของวัสดุที่เรียกว่า “วัสดุชีวภาพ” ซึ่งเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สารบัญ - บทที่ 1 บทนำสำหรับวัสดุชีวภาพ - บทที่ 2 พอลิเมอร์สำหรับวัสดุชีวภาพ - บทที่ 3 วัสดุชีวภาพจากพอลิเมอร์ในธรรมชาติ - บทที่ 4 วัสดุคอมพอสิต - บทที่ 5 สมบัติเชิงกล - บทที่ 6 สมบัติทางความร้อน - บทที่ 7 สมบัติทางไฟฟ้า - บทที่ 8 สมบัติพื้นผิว สมบัติการให้สารผ่านของวัสดุ ความหนาแน่นและรูพรุน - บทที่ 9 สมบัติเชิงแสง สมบัติการดูดกลืนรังสีเอกซ์ สมบัติเชิงเสียง - เอกสารอ้างอิง - ดัชนี
นับแต่โบราณมามนุษย์พยายามที่จะใช้ประโยชน์จากสารประกอบที่มีในธรรมชาติมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ โดยการเปลี่ยนสารประกอบเหล่านั้นมาเป็นวัสดุพื้นฐาน เช่น สารประกอบจากสัตว์มาทำเป็นหนัง สารประกอบจากพืชมาทำเป็นเส้นใย ในเวลาต่อมามนุษย์ค้นพบวิธีในการสร้างสารประกอบใหม่ขึ้นมาและสามารถพัฒนาไปเป็นวัสดุได้ในที่สุด การพัฒนาการผลิตและการใช้วัสดุเป็นไปอย่างรวดเร็ว จากองค์ความรู้ทางเคมีและวัสดุศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาทำให้เกิดกลุ่มวัสดุต่อไปนี้คือ โลหะ เซรามิก พอลิเมอร์ ซึ่งพอลิเมอร์เป็นกลุ่มวัสดุที่พัฒนาขึ้นมาหลังสุดแม้พอลิเมอร์จะถูกใช้มาก่อนหน้านี้แต่มนุษย์ยังไม่มีความรู้ในแง่โครงสร้างของพอลิเมอร์จึงไม่สามารถจัดจำพวกกลุ่มวัสดุพอลิเมอร์ได้ ในปัจจุบันมนุษย์ได้ใช้วัสดุที่เตรียมมาจากพอลิเมอร์สังเคราะห์แทนวัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ไม้ เซลลูโลส หนังและ/หรือขนสัตว์ในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งใช้ร่วมในการรักษาความผิดปกติและความเจ็บป่วยด้วย ในการพัฒนาพอลิเมอร์เพื่อการใช้งานทางดดานการแพทยนั้นจำเป็นจะต้องพิจารณาสมบัติของตัววัสดุในหลายๆ ด้านเนื่องจากระบบต่างๆ ในร่างกายสิ่งมีชีวิตมีความซับซ้อน และมีกลไกต่อต้านสิ่งแปลกปลอมภายนอกที่เข้าไปจึงจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยที่ซับซ้อนเหล่านี้ได้ กลายเป็นที่มาของแนวคิดของวัสดุที่เรียกว่า “วัสดุชีวภาพ” ซึ่งเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
สารบัญ
- บทที่ 1 บทนำสำหรับวัสดุชีวภาพ
- บทที่ 2 พอลิเมอร์สำหรับวัสดุชีวภาพ
- บทที่ 3 วัสดุชีวภาพจากพอลิเมอร์ในธรรมชาติ
- บทที่ 4 วัสดุคอมพอสิต
- บทที่ 5 สมบัติเชิงกล
- บทที่ 6 สมบัติทางความร้อน
- บทที่ 7 สมบัติทางไฟฟ้า
- บทที่ 8 สมบัติพื้นผิว สมบัติการให้สารผ่านของวัสดุ ความหนาแน่นและรูพรุน
- บทที่ 9 สมบัติเชิงแสง สมบัติการดูดกลืนรังสีเอกซ์ สมบัติเชิงเสียง
- เอกสารอ้างอิง
- ดัชนี