คงเหลือ รอคิว รอ/วัน
1/1 0 0
  • ประเภท : อีบุ๊ก
  • สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • Author : ยศ สันตสมบัติ
  • ISBN :9786163143174
  • ภาษา : ไทย
  • จำนวนหน้า : 390
  • ขนาดไฟล์ : 21.91 MB
หนังสือเล่มนี้เ็ป็นหนังสือตำราที่ได้รับรางวัลชั้นดีมากจากโครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนได้พยายามนำเสนอสาระ ประเด็น ขอบเขตความสนใจและมโนทัศน์พื้นฐานของมานุษยวิทยาวัฒนธรรมสำหรับผู้สนใจทั่วไป และเพื่อใช้เป็นตำราพื้นฐานประกอบการเรียนสำหรับนักศึกษาในวิชามนุษย์กับสังคม มานุษยวิทยาเบื้องต้น และวัฒนธรรมเปรียบเทียบ ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ทุกแห่งหนทั่วโลก มีคุณค่าและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน มนุษย์จึงควรเรียนรู้และทำความเข้าใจในวิถีชีวิตของผู้อื่นด้วยความเคารพ การศึกษาด้านวัฒนธรรมเป็นเสมือน "กระจกเงา" ส่องมนุษย์ ทำให้เราหันมาสำรวจและวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง จากการศึกษาวิถีชีวิตของผู้อื่น ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาทางด้านวัฒนธรรมยังมีบทบาทสำคัญ ช่วยให้เรามีความเข้าใจในวิถีชีวิตของสังคมวัุฒนธรรมอื่น ความเข้าใจนี้จะนำมาซึ่งความชื่นชมและเคารพซึ่งกันและกัน อันเป็นบ่อเกิดของเอกภาพและความหลากหลายและการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติ สารบัญ บทที่ 1 มานุษยวิทยากับการศึกษาวัฒนธรรม บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรม บทที่ 3 มนุษย์กับอาหาร บทที่ 4 ระบบเศรษฐกิจ บทที่ 5 การแต่งงาน ครอบครัว และระบบเครือญาติ บทที่ 6 อัตลักษณ์และความเป็นชาติพันธุ์ บทที่ 7 การแบ่งแยกทางเพศ บทที่ 8 องค์กรสังคมและการเมือง บทที่ 9 วัฒนธรรมและบุคลิกภาพ บทที่ 10 มนุษย์กับศาสนา บทที่ 11 มนุษย์กับศิลปะ บทที่ 12 วัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลง บทที่ 13 ความทันสมัยกับมายาคติของการพัฒนา บทที่ 14 มานุษยวิทยาประยุกต์
หนังสือเล่มนี้เ็ป็นหนังสือตำราที่ได้รับรางวัลชั้นดีมากจากโครงการส่งเสริมการสร้างตำรา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนได้พยายามนำเสนอสาระ ประเด็น ขอบเขตความสนใจและมโนทัศน์พื้นฐานของมานุษยวิทยาวัฒนธรรมสำหรับผู้สนใจทั่วไป และเพื่อใช้เป็นตำราพื้นฐานประกอบการเรียนสำหรับนักศึกษาในวิชามนุษย์กับสังคม มานุษยวิทยาเบื้องต้น และวัฒนธรรมเปรียบเทียบ ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นว่าสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ทุกแห่งหนทั่วโลก มีคุณค่าและศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน มนุษย์จึงควรเรียนรู้และทำความเข้าใจในวิถีชีวิตของผู้อื่นด้วยความเคารพ การศึกษาด้านวัฒนธรรมเป็นเสมือน "กระจกเงา" ส่องมนุษย์ ทำให้เราหันมาสำรวจและวิพากษ์วิจารณ์ตนเอง จากการศึกษาวิถีชีวิตของผู้อื่น ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาทางด้านวัฒนธรรมยังมีบทบาทสำคัญ ช่วยให้เรามีความเข้าใจในวิถีชีวิตของสังคมวัุฒนธรรมอื่น ความเข้าใจนี้จะนำมาซึ่งความชื่นชมและเคารพซึ่งกันและกัน อันเป็นบ่อเกิดของเอกภาพและความหลากหลายและการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติ
สารบัญ
บทที่ 1 มานุษยวิทยากับการศึกษาวัฒนธรรม
บทที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานทางมานุษยวิทยาวัฒนธรรม
บทที่ 3 มนุษย์กับอาหาร
บทที่ 4 ระบบเศรษฐกิจ
บทที่ 5 การแต่งงาน ครอบครัว และระบบเครือญาติ
บทที่ 6 อัตลักษณ์และความเป็นชาติพันธุ์
บทที่ 7 การแบ่งแยกทางเพศ
บทที่ 8 องค์กรสังคมและการเมือง
บทที่ 9 วัฒนธรรมและบุคลิกภาพ
บทที่ 10 มนุษย์กับศาสนา
บทที่ 11 มนุษย์กับศิลปะ
บทที่ 12 วัฒนธรรมกับการเปลี่ยนแปลง
บทที่ 13 ความทันสมัยกับมายาคติของการพัฒนา
บทที่ 14 มานุษยวิทยาประยุกต์